หัวล้านเกิดจากกรรมพันธุ์จริงหรือ?

คนทั่วไปเชื่อกันว่าถ้าหากมีบิดา คุณปู่หรือคุณปู่ทวดหัวล้าน มีโอกาสสูงที่คนนั้นจะเกิดปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าหากใครมีความกังวลใจเกี่ยวกับปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์และอยากจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์อย่างเหมาะสม ขอแนะนำให้ทำการอ่านบทความชิ้นนี้จนจบรับรองว่าจะช่วยจัดการกับปัญหาเหล่านี้ให้หายวับไม่กลับมากวนใจคุณอีกได้อย่างแน่นอน

ความเกี่ยวข้องระหว่างยีนกับภาวะผมบาง

“ผมบาง” เป็นสภาวะที่มีความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับการถ่ายทอดยีนที่มีลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อ ปู่หรือปู่ทวด โดยมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาผมบางที่มากถึงร้อยละ 25 แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องประสบกับปัญหาผมบางมากจนกระทั่งนำไปสู่การเกิดปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนที่ได้รับยีนหัวล้านกรรมพันธุ์ต้องเผชิญกับสาเหตุอื่นร่วมด้วยจึงจะทำให้ปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ แสดงผลออกมาอย่างชัดเจน โดยปัญหาที่ทำให้เกิดกับปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์มีดังต่อไปนี้

 

หัวล้าน กรรมพันธุ์

 

ปัจจัยใดที่ทำให้ผู้ชาย “หัวล้าน”

ปัญหาหัวล้าน หัวล้านกรรมพันธุ์ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่โดยพื้นฐานแล้วปัญหาผู้ชายหัวล้านสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้

1.ปัจจัยด้านอายุ

อายุ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาหัวล้านขึ้น ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ายิ่งอายุเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ เส้นผมของคนเราก็จะยิ่งบางลงและสั้นลงมากเท่านั้น ในขณะเดียวกันรากของเส้นผมและเส้นขนก็จะอ่อนแอลง มีจำนวนที่ลดลง เนื่องจากปริมาณของเลือดที่นำออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเส้นผมลดน้อยลงนั่นเอง จึงไม่น่าแปลกใจนักที่บรรดาผู้สูงอายุจะมีปริมาณของเส้นผมที่ลดน้อยลงเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

หัวล้าน กรรมพันธุ์

2.ยีน

มนุษย์ทุกคนได้รับการถ่ายทอดยีนมาจากบิดามารดา นั่นหมายความว่าถ้าหากบิดามารดามีปัญหาผมร่วง ผมบางและหัวล้าน บุตรก็มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ขึ้นกับตัวเองด้วยเช่นกัน แต่ปัญหาจากยีนก็ไม่เป็นตัวกำหนดว่าจะเกิดปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ขึ้นอย่างเต็ม 100% เช่นกัน

3.ฮอร์โมนเพศชาย

ฮอร์โมนเพศชาย เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ขึ้นได้มากที่สุด โดยมีกระบวนการที่ทำให้เกิดขึ้นดังต่อไปนี้

 

หัวล้าน กรรมพันธฺุ์

ฮอร์โมนเพศชาย สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์

ในร่างกายของผู้ชายจะมีการหลั่งฮอร์โมเทสเตอโรน หรือ ฮอร์โมนเพศชายออกมาตามธรรมชาติ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เจ้าฮอร์โมนนี้ไปทำปฏิกิริยากับเอนไซต์ 5 alpha-reductase จะส่งผลให้เกิดฮอร์โมน Dihydrotestosterone หรือ DHT ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับเส้นผมที่มพึงประสงค์หลายประการอาทิเช่น ทำให้ช่วงอายุของเส้นผมตั้งแต่งอกจนหลุดร่วงจากลดน้อยลงจากเดิมใช้เวลา 2-6 ปี สั้นลงมากขึ้นเรื่อยๆจนเหลือเพียงไม่ถึงหนึ่งปี เป็นต้น การหลุดร่วงของเส้นผมในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่ที่แข็งแรงและมีความยาวอย่างเหมาะสม รวมไปถึงปัญหารากเส้นผมที่อ่อนแอจนกระทั่งทำให้เส้นผมในบริเวณนั้นไม่งอกใหม่ขึ้นมาอีกกระทั่งนำไปสู่การเกิดปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ขึ้นในที่สุด อย่างไรก็ตามปริมาณของฮอร์โมนเทสเตอโรนของแต่ละคนมีปริมาณที่แตกต่างกัน ถ้าหากใครมีปริมาณของฮอร์โมนตัวนี้สูงก็จะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาผมบางหรือหัวล้านกรรมพันธุ์ขึ้นมากกว่าคนที่มีปริมาณน้อยนั่นเอง

ถ้าหากใครสงสัยว่าตัวเองกำลังประสบกับปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์หรือเปล่า ให้ลองทำการพิจารณาลักษณะปัญหาผมบาง หัวล้านของตัวเองโดยสังเกตบริเวณไรผม หน้าผากและกลางกระหม่อมเนื่องจาก เอนไซต์ 5 alpha-reductase มีการสะสมตัวอยู่มากในบริเวณดังกล่าว ถ้าหากสังเกตเห็นปัญหาผมบางหัวล้านในบริเวณนั้นก็มีโอกาสสูงที่กำลังเกิดปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ขึ้นกับตัวคุณ

 

หัวล้าน กรรมพันธฺุ์

หัวล้านกรรมพันธุ์ได้รับมาจากใคร?

การรับกรรมพันธุ์จากบิดามารดานั้นไม่ได้ถูกกำหนดด้วยยีนเพียงอย่างเดียว แต่มันยังขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเพศชายที่เรียกกันว่า “ตัวรับแอนโดเจน” อีกด้วย ซึ่งตัวรับนี้จะทำการรับโครโมโซม X ที่เป็นยีนที่ก่อให้เกิดปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์เข้าสู่ร่างกายของผู้เป็นบุตรจนกระทั่งนำไปสู่การเกิดปัญหาหัวล้านขึ้นในที่สุด

โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์เพศชายและหญิงจะมีโครโมโซมที่แตกต่างกันที่ใช้ในการกำหนดเพศอย่างชัดเจน ในผู้ชายโครโมโซมจะถูกแทนค่าด้วย XY และในผู้หญิงโคโมโซมจะถูกแทนค่าด้วย XX เมื่อผู้ชายและผู้หญิงให้กำเนิดบุตร บุตรก็จะได้รับโครโมโซม X มาจากแม่ และรับโครโมโซม Y มาจากพ่อ ในขณะเดียวกันลูกสาวจะรับโครโมโซม X มาจากทั้งพ่อและแม่

 

หัวล้าน กรรมพันธุ์

โครโมโซม X ที่บุตรได้รับมาจากแม่นั้น คือยีนของผู้เป็นตาอีกที ถ้าหากผู้เป็นตามีปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ยีนดังกล่าวก็มีโอกาสอาจถูกส่งต่อข้ามรุ่นมาถึงรุ่นหลานที่เป็นผู้ชายด้วยเช่นกัน แต่ปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ไม่ส่งผลกับเพศหญิงทำให้ผู้เป็นแม่อาจไม่แสดงอาการของปัญหาใดออกมาให้เห็น ดังนั้นถ้าหากไม่ทำการสังเกตผู้เป็นตาให้ดีหลายคนอาจไม่คิดว่าตัวเองกำลังมีปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์จนกระทั่งปัญหาเหล่านั้นจะเกิดขึ้นกับตัวเองนั่นเอง

หัวล้าน กรรมพันธุ์

วิธีตรวจสอบว่ามียีนผมบางหรือไม่

ถ้าหากใครกำลังกังวลใจว่าตัวเองกำลังประสบกับปัญหายีนผมบางหรือไม่ วิธีที่ดีและแม่นยำที่สุดคือการไปเข้ารับการตรวจที่คลินิกหรือโรงพยาบาล โดยนำเส้นผมหรือเนื้อเยื่อจากกระพุ้งแก้มไปเข้ารับการตรวจ ถ้าหากผลตรวจไม่พบว่ามียีนผมบาง เพียงเท่านี้คุณก็สามารถที่จะสบายใจได้ว่าโอกาสเกิดปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ขึ้นก็จะลดน้อยลงเป็นอย่างมากเลยทีเดียว แต่ถ้าหากใครทำการตรวจสอบแล้วพบว่าตนเองมีปัญหายีนผมบางก็จะได้มองหาวิธีการที่จะช่วยป้องกันเอาไว้เสียตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์นั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องใช้เวลา ทรัพย์สินและแรงใจอย่างมากในการตามรักษามันอย่างได้ผลในภายหลัง

หัวล้าน กรรมพันธุ์

สาเหตุอื่นของอาการผมร่วง ผมบาง ที่นอกเหนือจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

ถึงแม้ว่ายีนที่ถูกส่งต่อจากบิดามารดาจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ เมื่อรวมเข้ากับปัจจัยภายในร่างกายอย่างเช่นฮอร์โมน และปัจจัยภายนอกอย่างเช่น การสระทำความสะอาดเส้นผมที่บ่อยครั้งมากจนเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่และการทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นชวนจุดปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ให้แสดงออกมาได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์คือ เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเองให้ห่างไกลจากความเสี่ยงนั่นเอง

หัวล้าน กรรมพันธุ์

 

วิธีเอาชนะผมร่วง ผมบาง หัวล้านจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

ปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน สิ่งสำคัญคือคุณควรทราบวิธีการป้องกัน ดูแลและแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเหมาะสมด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ที่เว็บไซต์หัวล้านได้หวีได้ทำการรวบรวมเอามาฝากเพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์ดังต่อไปนี้กันได้เลย